Welcome To Miss Duangkamon's Blogger

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

 บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

วันจันทร์  ที่ 26 มกราคม 2558
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 12.00 - 16.00 น.




 เนื้อที่เรียน

หลักในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญ 
             ศิลปะช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ที่หลากหลาย ประสบการณ์ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ (สังเกตดสิ่งแวดล้อมรอบตัว)ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปกรณ์(เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่าง) ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึกและประสาทสัมผัส ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญกับความจริงที่เกี่ยวข้องกับคน พืช สัตว์ สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ

จุดมั่งหมายในการสอนศิลปะ
       การสอนศิลปะเด็กเป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ละเอียดอ่อนและให้มีความพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับสูงต่อไป ไม่ใช่เพียงการสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง
          - ฝึกทักษะการใช้มือและเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 
          -  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของเด็กแต่ละคน
          - พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
          - ปลูกฝังค่านิยม เจตคติและคุณสมบัติที่ดีของศิลปะและวัฒนธรรมไทย
          - ฝึกให้เด็กเริ่มเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำงานศิลปะตลอดจนรู้จักเก็บรักษาและทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
          - ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
          - เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระอผ่อนคลาย สนุกสนานและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
          - นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

บทบาทครูในการสอนศิลปะ
             ครู คือบุคคลที่สำคัญที่สุดในการจัดการสอนศิลปะ เป็นผู้สร้างบรรยากาศ เป็นผู้ส่งเสริมสนันสนุน ผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์ผลงาน เป็นต้นแบบที่ดี และเป็นผู้อำนวยความสะดวก
   บทบาทของครูจึงมีดังนี้
1.สอนด้วยใจรักและเอาใจใส่
2.ยอมรับความสามารถของเด็กแต่ละคน
3.เปิดโอกาสให้เด็กได้สร้างผลงานของตนเอง
4.ไม่แทรกแซงความคิดเด็ก
5.กระตุ้น ยั่วยุ ท้ายทายให้เด็กได้แสดงออกอย่างเต็มที่
6.มีการวางแผน จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ล่วงหน้าพร้อมทำกิจกรรม

ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะ

       1.หลีกเหลี่ยงการให้แบบ
       2.พัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก
       3.ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากผลงานเด็ก
       4.ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำงาน
       5.ไม่วิจารณ์ผลงานของเด็ก
       6.ช่วยให้ผู้ปกครองเห็นถึงคุณค่าของผลงานเด็ก
       7.มีส่วนช่วยในการขยายประสบการณ์ทางศิลปะของเด็ก

การเตรียมการสอนสำหรับศิลปะ
       - สร้างขอตกลงและระเบียบการใช้อุปกรณ์ 
       - จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอ
       - จัดวัสดุ อุปกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน
       - จัดเตรียมเครื่องมือทำความสะอาด(ฟองน้ำ ผ้าเช็ดมือ ถังขยะ ถังน้ำ)
       - จัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่าเหมาะสมเพียงพอ
       - จัดเก็บผลงาน/การจัดสถานที่ในการแสดงผลงาน

ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะ
  • ขั้นตอนการสอนศิลปะ 
1. เลือกเรื่องที่จะสอน
2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
3. เตรียมการก่อนสอน
       - เตรียมแผนการสอน เรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา ระยะเวลา สื่อ การสอน จำนวนเด็ก จำนวนกิจกรรม สถานที่
        - เตรียมอุปกรณ์การสอน
4. ทดลองหรือตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
5. ทำการสอนจริงตามแผน
6. เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนลงมือทำผลงาน 
7. การปฎิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล แนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนเขียนชื่อ และจดบันทึกข้อมูล
8. การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาด
9. การประเมินผลงานเด็ก

เทคนิควิธีการสอนศิลปะ
  •  เข้าถึง - ดูแล เอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแจ่ละคนอย่างเท่าเทียม
  • เข้าใจ -  ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • ให้ความรัก - รักและเข้าใจ สนับสนุนและพัฒนา ช่วยเหลือ
  • สร้างบรรยากาศ - หลากหลาย สนุกสนาน อิสระ
  • มีระเบียบวินัย - มีข้อตกลงร่วมกัน และปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัยในการทำงาน
  • ปลอดภัย - คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
เทคนิดการสอนให้เด็กมีความคิดส้รางสรรค์
  • เปิดโอกาสให้เด็กได่แสดงออกอย่างเสรี มีอิสระในการสร้างสรรค์งาน
  • ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้ มดลองด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก
  • เรียนรู้การวางแผนและแก้ไขปัญหา
  • ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ
  • เน้นการเรียนปนเล่น
  • สนับสนุน/เน้นเรื่องคุณค่าด้วยความงาม ความดี
 กิจกรรมในห้องเรียน

ใบงานที่ 3 
 คำสั่ง : วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ พร้อมจกแต่งให้สวยงาม 

จากโครงร่างที่เป็นครึ่งวงกลมวงนี้


กลายเป็นผลงานชิ้นนี้





ใบงานที่ 4 
 คำสั่ง : วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง


ใบงานที่ 5
คำสั่ง : วาดโคร่งร่างอะไรก็ได้ที่ชอบ1ชนิด และออกแบบลวดลายตามจินตนาการพร้อมระบายสี


 การนำไปใช้
  
          การนำเนื้อหาที่ได้เรียนนั้นไปปรับและใช้ในการสอนในอนาคตในการสอนหรือจัดประสบการณ์ทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย และการวาดภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมภาพ การวาดลวดลวยต่างๆ การนำลวดลายไปใส่ไว้ในภาพให้เกิดความสวยงามได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง

 การประเมิน

ตนเอง :  มีความรู้ในเรื่องการสอนศิลปะมากขึ้นมีทักษะการวาดภาพการระบายสีเพิ่มขึ้นจากคนที่ไม่มีความสามารถในการวาดภาพและระบายสีก็ได้ฝึกฝน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนแต่ก็มีบางครั้งที่คุยกับเพื่อนบ้าง เมื่อถึงช่วงทำกิจกรรมก็ทำเต็มที่ตามความสามารถของตนเองเท่าที่จะทำได้ แต่งกายเรียบร้อยเข้าเรียนตรางเวลา

เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา บางคนก็ตั้งฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนแต่ก็มีบางคนที่แอบคุยกันบ้าง แต่เมื่ออาจารย์ถามเพื่อนๆก็ช่วยกันตอบคำถามในช่วงการทำกิจกรรมทุกคนก็ตั้งใจและทำผลงานออกมาได้สวยงามกันทุกคน

อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลาเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนครบถ้วนเนื้อหาที่สอนก็ครบบรรยายได้ดีและเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างในบางเนื้อหาที่นักศึกษาไม่เข้าใจ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น